Sunday 6 September 2015

เรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน Microcontroller ตอนที่ 1

เรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน Microcontroller ตอนที่ 1
การใช้งาน Arduino IDE
            การใช้งานบอร์ด Arduio Nano จะต้องใช้งานร่วมกับซอฟแวร์ Arduino IDE  โดยซอฟแวร์ Arduino IDE เป็นซอฟแวร์ที่ไว้สำหรับเขียน Code และทำการโปรแกรม Firmware ได้ในตัวเดียวกันซึ่งทำให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น  เริ่มต้นให้ทำการโหลดโปรแกรม ที่นี้ ซอฟแวร์มีทั้งสำหรับระบบปฏิบัติการ Windown , MAC OS และ Linux ครับ 
                เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็ปที่จะดาวน์โหลดโปรแกรม ก็จะเจอหน้าตาเว็ปประมาณนี้ครับ (รูปด้านล่าง) ซึ่ง ณ ตอนที่เขียนบล็อกนี้อยู่เป็นเวอร์ชั่น 1.6.5 และในกรอบสีแดงที่ผมตีกรอบไว้ก็คือตัวโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการต่างๆที่เราใช้ในคอมพิวเตอร์ของเรา ผมเองใช้ Window ผมก็ต้องคลิ๊กตรงแถบที่เป็น Window ซึ่งมีให้เลือกสองแบบ แบบแรก Windows installer แบบเป็นการดาวน์โปรแกรมมา เพื่อติดตั้งลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา (ผมเลือกแบบนี้)  แบบที่สอง Windows ZIP file for non admin install เป็นแบบไม่ต้องทำการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

เมื่อคลิกที่แทบ Window installer หรือ Windows ZIP file for non admin install จะเจอเว็ปหน้าตาอย่างนี้ครับ
ในการดาวน์โหลดโปรแกรมนั้นมีให้เลือกสองแบบคือแบบ JUST DOWNLOAD กับแบบ CONTRIBUTE & DOWNLOAD โดยแบบ JUST DOWNLOAD เป็นแบบฟรี ส่วนแบบ CONTRIBUTE & DOWNLOAD เป็นแบบบริจาคเพื่อสนับสนุนเป็นกำลังใจให้กับกลุ่มคนที่ทำโปรแกรมมาให้เราได้ใช้งาน จะบริจาคกี่เหรียญก็คลิกเลือกได้เลยตามกำลังครับ ผมเลือกแบบฟรีครับ (กรอบสีแดงครับ ไว้โอกาสหน้าจะสนับสนุนล่ะกันครับ) เมื่อคลิกก็จะเจอหน้าต่างประมาณนี้ครับ กด yes ไปเลยครับ

สำหรับใครที่ลงโปรแกรมครั้งแรกก็จะเริ่มกระบวนการติดตั้งโปรแกรมทันที แต่สำหรับเครื่องไหนที่เคยติดตั้งโปรแกรมเวอร์ชันเก่ามาก่อนแล้วเครื่องก็จะถามว่ามีโปรแกรมนี้อยู่ในเครื่องเราอยู่แล้ว จะลงอีกไหม ถ้าจะลงอีก จะต้องถอนการติดตั้งอันเก่าออกก่อนนะถึงจะลงไหมได้ ก็ให้เรากด OK ได้เลยครับ ระบบก็จะทำการถอนการติดตั้งอันเก่าออก และลงใหม่ให้เราโดยอัตโนมัติ
หลังจากดปุ่ม OK ระบบก็จะถามเราเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่งว่า จะทำการถอนการติดตั้งโปรแกรมเก่าออกแล้วนะ แนะใจหรือเปล่า ก็แน่ใจซิครับ คลิกปุ่ม Uninstall ได้เลย
หลังจากคลิกปุ่ม Uninstall ได้สักพัก ระบบก็จะเตือนเราเพื่อความแน่ใจอีกครั้งว่า หลังจากทำการถอนการติดตั้งแล้ว ข้อมูลต่างๆในโฟลเดอร์ C:\Program Files\Arduino จะหายไปนะ กรณีที่เราเซฟโปรแกรมที่เราเขียนไว้ที่โฟลเดอร์อื่นแล้วหรือเราไม่ได้สนใจไฟล์ในโฟลเดอร์นั้นก็ OK ไปเลยครับ แต่ถ้ามีโปรแกรมสำคัญที่เราเขียนไว้ก็ต้องก็อปไฟล์ไปไว้ที่อื่นก่อนะครับ ก่อนที่จะทำการติดตั้งโปรแกรม (สำหรับใครที่เคยติดตั้งมาก่อนแล้วและได้เขียนโปรแกรมเก็บไว้ในโฟลเดอร์ดังกล่าว)
เมื่อถอนการติดตั้งสำเร็จก็จะได้หน้าต่างดังด้านล่างกด OK ได้เลยครับ
เมื่อถอนการติดตั้งโปรแกรมสำเร็จระบบก็จะแจ้งแบบนี้

สามารถดูรายละเอียดการถอนการติดตั้งโปรแกรมโดยคลิกที่ปุ่ม Show details
กดปุ่ม Close เพื่อเริ่มการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ระบบจะแสดงรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆ ก็กดปุ่ม
I Agree ยอมรับไปนะครับ
หลังจากนั้นระบบก็จะให้เราเลือก Option ในการติดตั้ง ก็ Next เลยครับ
หลังจากนั้นก็จะให้เราเลือกโฟลเดอร์ที่จะติดตั้งโปรแกรม โดยเริ่มต้นระบบจะสร้างโฟลเดอร์ที่ชื่อ Arduino และจะกำหนดไว้ที่ C:\Program Files\Arduino ให้เราอัตโนมัติ ก็ให้เรากด Install ได้เลยครับ
เริ่มการติดตั้งโปรแกรม
เรียบร้อยครับ Close ไปเลย
ก็จะได้ Icon ปรากฎที่ desktop ดังในภาพ
ในการเปิดใช้งานโปรแกรมก็สามารถเปิดใช้งานได้สองวิธี คือ ดับเบิ้บคลิกที่ icon บน desktop หรือ เข้าไปที่ Start     >      All Program    >       Arduino 
ก็จะได้หน้าตาของ Arduino IDE ตามล่างนี้ครับ
แบบที่สอง Windows ZIP file for non admin install เป็นแบบไม่ต้องทำการติดตั้ง  ซึ่งก็มีให้เลือกดาวน์โหลดทั้งแบบ JUST DOWNLOAD และ CONTRIBUTE & DOWNLOAD และเมื่อเราคลิ๊กปุ่ม DOWNLOAD ก็จะเริ่มทำการดาวน์โหลด เมื่อดาวน์โหลดเสร็จก็จะได้ไฟล์ ZIP มาแบบนี้ครับ
เมื่อทำการแตกไฟล์ก็ได้โฟลเดอร์มาแบบนี้
ดับเบิ้ลคลิกเข้าไฟข้างใน แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน ตามรูปด้านล่าง เพื่อทำการเปิด Adruino IDE ครับ
กด Run ก็จะได้หน้าตาของ Arduino IDE ตามล่างนี้ครับ
โอเคครับ ถึงตรงนี้เราก็มีโปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์แล้ว ในหัวข้อต่อไปเราจะมาเริ่มโครงงานแรกของเรากันครับ แล้วเจอกันครับ

Tuesday 11 August 2015

มารู้จัก Arduino Nano



Arduino Nano

   ก่อนที่เราจะนำ microcontroller ไปประยุกต์ทำโครงงานทางด้าน IoT จำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน microcontroller กันเสียก่อนและ microcontroller ที่เราเราจะนำมาเรียนรู้พื้นฐานการใช้งานก็คือไมโครคอนโทรเลอร์รุ่น Arduino Nano เพราะมีราคาถูกและมีฟังค์ชันการทำงานที่เพียงพอต่อการเรียนรู้ระดับพื้นฐาน ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึง Arduino Nano กันครับ
     นานาโนเป็นบอร์ดขนาดจิ๋ว  มีความสามารถในการประมวลผลเหมือนกับรุ่น UNO แต่มีจำนวน input/output น้อยกว่าเพราะต้องการให้มีขนาดเล็ก  เวลาใช้งานอาจจะต่อกับ Prototype Board หรือ ต่อเชื่อมกับ PCB (PCB คืออะไร) ที่สร้างขึ้นใช้งานเฉพาะกิจได้  และเช่นเดียวกับบอร์ด Arduino รุ่นอื่น   Arduino Nano สามารถโปรแกรมได้โดยตรงผ่าน USB port โดย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์แยกต่างหากเพื่อ Upload โปรแกรม


รายละเอียดของบอร์ด Arduino Nano มีดังนี้ครับ

      Microcontroller                                Atmel ATmega168 or ATmega328
      Operating Voltage (logic level)          5 V
      Input Voltage (recommended)           7-12 V
      Input Voltage (limits)                        6-20 V
      Digital I/O Pins                                 14 (of which 6 provide PWM output)
      Analog Input Pins                               8
      DC Current per I/O Pin                     40 mA
      Flash Memory                                    16 KB (ATmega168) or 32 KB (ATmega328) of which 2 KB used by bootloader
      SRAM                                                1 KB (ATmega168) or 2 KB (ATmega328)
      EEPROM                                            512 bytes (ATmega168) or 1 KB (ATmega328)
      Clock Speed                                       16 MHz
      Dimensions                                         0.73" x 1.70"

ตัวผังโครงสร้างวงจรของ Ariduino Nano เป็นดังนี้


ขาใช้งานที่เรียกว่า Pin มีหมายเลขกำกับและลักษณะการใช้งาน ดังนี้ครับ


ในหัวข้อถัดไปเราจะมาพูดถึงพื้นฐานการใช้งาน Arduino Nano กันอย่างละเอียดกันครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gravitechthai.com,http://www.electcircuitz.com/

Sunday 2 August 2015

มารู้จักกับ Arduino

Arduino คืออะไร
ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้งานกันอยู่มีอยู่หลายตระกูล ถ้าเปรียบเป็นรถก็มีหลายยี่ห้อ หลายค่าย ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ในบล็อกนี้จะพูfถึงเฉาะตระกูลที่เราจะใช้ศึกษา ทำโครงงาน ประยุกใช้ในเทคโนโลยี IoT คือ ตระกูล Arduino (อาร์ดูโน)
Arduino คือ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์สำเร็จรูป ที่รวมเอาตัวไมโครคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นมารวมไว้ในบอร์ดเดียวกัน และยังใจกว้างเปิดเผยข้อมูลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นลายวงจร ตัวอย่างโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้อย่างเราๆท่านๆนำไปพัมนาต่อได้ง่าย เพียงแค่เรามีบอร์ด Arduino กับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ก็พร้อมใช้งานได้แล้ว โดยไม่ต้องปวดหัวกับวงจรที่ซับซ้อม หรือการติดตั้งโปรแกรมที่ยุ่งยาก โดยทาง Arduino และบริษัทที่เกี่ยวข้องได้ผลิตบอร์ดออกมาหลายรุ่นหลายขนาดให้ได้เลือกใช้ตามความต้องการและความเหมาะสมของานที่จะนำไปใช้ของผู้ใช้งาน ก็เหมือนกับรถยี่ห้อหนึ่งๆก็จะมีรถหลายรุ่นไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งานนั่นเอง


สรุปจุดเด่นของ Arduino
1.ง่ายต่อการพัฒนา มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
2.มี Arduino Community กลุ่มคนที่ร่วมกันพัฒนาที่แข็งแรง 
3.Open Hardware ทำให้ผู้ใช้สามารถนำบอร์ดไปต่อยอดใช้งานได้หลายด้าน
4.ราคาไม่แพง
5.Cross Platform สามารถพัฒนาโปรแกรมบน OS ใดก็ได้ 

          บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ Arduino มีอยู่หลายรุ่น แต่จะขอแนะเฉาะบางรุ่นเท่านั้นนะครับ

1. Arduino Uno R3 เป็นบอร์ด Arduino ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง ส่วนใหญ่โปรเจคและ Library ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมา Support จะอ้างอิงกับบอร์ดนี้เป็นหลัก และข้อดีอีกอย่างคือ กรณีที่ MCU เสีย ผู้ใช้งานสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ง่าย 



2. Arduino Uno SMD เป็นบอร์ดที่มีคุณสมบัติและการทำงานเหมือนกับบอร์ด Arduino UNO R3 ทุกประการ แต่จะแตกต่างกับที่Package ของ MCU ซึ่งบอร์ดนี้จะมี MCU ที่เป็น Package SMD (Arduino UNO R3 มี MCU ที่เป็น Package DIP)




3. Arduino Mega 2560 R3 เป็นบอร์ด Arduino ที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องใช้ I/O มากกว่า Arduino Uno R3 เช่น งานที่ต้องการรับสัญญาณจาก Sensor หรือควบคุมมอเตอร์ Servo หลายๆ ตัว ทำให้ Pin I/O ของบอร์ด Arduino Uno R3 ไม่สามารถรองรับได้ ทั้งนี้บอร์ด Mega 2560 R3 ยังมีความหน่วยความจำแบบ Flash มากกว่า Arduino Uno R3 ทำให้สามารถเขียนโค้ดโปรแกรมเข้าไปได้มากกว่า ในความเร็วของ MCU ที่เท่ากัน



4. Arduino Mega ADK เป็นบอร์ดที่ออกแบบมาให้บอร์ด Mega 2560 R3 สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ Android Deviceผ่านพอร์ตUSB Host ของบอร์ดได้



5. Arduino Leonardo การทำงานจะคล้ายกับบอร์ด Arduino Uno R3 แต่มีการเปลี่ยน MCU ตัวใหม่เป็น ATmega32U4 ซึ่งมีโมดูลพอร์ต USB มาด้วยบนชิป (แตกต่างจากบอร์ด Arduino UNO R3 หรือ Arduino Mega 2560 ที่ต้องใช้ชิป ATmega16U2 ร่วมกับ Atmega328 ในการเชื่อมต่อกับพอร์ต USB)




6. Arduino Mini 05 เป็นบอร์ด Arduino ขนาดเล็กที่ใช้ MCU เบอร์ ATmega328 เบอร์เดียวกับบอร์ด Arduino UNO R3



7. Arduino Nano เป็น surface mount breadboard embedded version เป็น บอร์ดที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ใช้ usb ที่เล็กที่สุด สมบูรณ์แบบใช้งานร่วมกับโปรโตบอร์ดได้ เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่มีให้ทุกอย่าง ตั้งแต่ Diecimila / Duemilanove มีขา VCC 5V และ 3.3V TX, RX, ATN, GND อื่นๆ Arduino Nano มีความสามารถเหมือนบอร์ด rduino mini แต่มีขนาดที่เล็กกว่าที่มาพร้อม usb เพื่อให้ผู้ใช้งานประหยัดพื้นที่ในการวางบอร์ด รุ่น 3.1 ใหม่นี้มาพร้อมกับ ATmega328 ซึ่งมีพื้นที่หน่วยความจำข้อมูลสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มากขึ้น ในราคาที่ไม่แพง


ซึ่งเราจะใช้ Arduino Nano และ Arduino UNO เป็นหลักในการศึกษาและทำโครงงานทางค้าน IoT ซึ่งจะว่ากันต่อในหัวข้อต่อไปครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gravitechthai.com และ http://www.thaieasyelec.com

Friday 31 July 2015

ไมโครคอนโทรลเลอร์ คืออะไร

Micro Controller ถ้าแปลความหมายแบบตรงๆตัว ก็คือระบบคอนโทรลขนาดเล็ก เรียกอีกอย่างหนึ่งคือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่เราสามารถนำเอามันมาประยุคใช้งานได้หลากหลาย โดยผ่านการออกแบบวงจรให้เหมาะกับงานนั้นๆ และยังสามารถโปรแกรมคำสั่งเพื่อควบคุมขา Input / Output เพื่อสั่งงานให้มันไปควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งก็นับว่าเป็นระบบที่สามารถนำมาประยุคใช้งานได้หลากหลายครับ ทั้งทางด้าน Digital และ Analog ยกตัวอย่างเช่น
ระบบสัญญาณตอบรับอัตโนมัต, ระบบบัตรคิว, ระบบตอกบัตรพนักงาน และอื่นๆ ยิ่งระบบ Micro Controller ในยุคปัจจุบันนั้นสามารถทำการเชื่อต่อกับระบบ Network ของคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้อีกด้วย ดังนั้นการสั่งงานจึงไม่ใช่แค่หน้าแผงวงจร แต่อาจจะเป็นการสั่งงานอยู่คนละซีกโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ เห็นมั๊ยละ ว่ามันน่าทึ่งขนาดไหน
บางคนตั้งคำถามต่อว่า อ้าวว มันทำงานเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเราใช้ คอมพิวเตอร์รันงานไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ? คำตอบก็คือ ได้ครับ แต่ลองคิดดู Micro Controller มีขนาดเท่ากล่องเทปคลาสเซ็ท กับ คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าตู้บริจากปัจจัยตามวัด แบบไหนจะสะดวกกว่า นี่ยังไม่นับถึงเรื่องของราคาและค่า maintenance ต่างๆ นาๆ
 ย้อนอดีตนึกถึงเรื่องราวของ Micro Controller ในยุคเก่าๆ
Z-80


 ถ้าจะย้อนไปในอดึต  พวก Micro Controller ที่นิยมใช้กันก็มีอยู่ไม่กี่ตัว เริ่มตั้งแต่ตัวแรกที่เป็นลักษณะของ CPU ไม่ถึงขั้นเรียกว่า Micro Controller ก็คือ ตระกูล Z80  เป็นลักษณะของ CPU เล็กๆ ที่ต้องอาศัย IO ต่างๆ เพิ่มเติมมาก จึงทำให้บอร์ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็จัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ที่ดีของยุคสมัยนั้น โดยชุดคำสั่งที่เป็น op code


MCS-51
หลังจากนั้นก็จะมีตระกูล MCS-51 ซึ่งการเรียนรู้และใช้งานค่อนข้างง่ายกว่า Z-80 ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรมในลักษณะของ Assembly Code แล้วโหลดลงบอร์ดเพื่อใช้งาน ตลอดจนสถาปัตยกรรมในการออกแบบ Micro Controller รุ่นนี้จะช่วยลดอุปกรณ์รอบๆข้างลงไปได้มาก
ตัวอย่างการต่อใช้งาน MCS-51 บนบอร์ดทดลองจริงๆ อุปกรณ์รอบๆข้างจะน้อยกว่า Z-80 มาก ทำให้ออกแบบวงจรได้ง่ายขึ้นมาก


Micro Controller ยุคปัจจุบัน
PIC
PIC เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ยุคหลังๆ ที่ตัดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ต่อพ่วงต่อพ่วงที่มีความซับซ้อนให้เหลือจำนวนน้อยเอามากๆ ประกอบกับมีหน่วยความจำ EEPROM ในตัว จึงทำให้ง่ายต่อการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล และ PORT ต่างๆ ได้มีการ latch ในตัว IC อยู่แล้ว จึงสามารถต่ออกมาใช้งานภายนอกได้เลยโดยตรงโดยมีกระแสและแรงดันที่เพียงพอ และอีกความสามารถหนึ่งที่โดดเด่น คือสามารถโปรแกรมตัว boot loader เข้าไปในตัว Micro Controller  ได้เลย จึงทำให้ง่ายเวลาโหลดโปรแกรมเข้าไป จากคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง Serial port และกดปุ่ม reset เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการเครื่องโปรแกรม IC เพิ่มเติมอย่างที่ต้องมีกับระบบ Micro Controller รุ่นเก่าๆอย่าง MCS 51
ตัวอย่างการต่อใช้งาน PIC กับบอร์ดทดลองจริงๆ ก็ง่าย ฟังก์ชั่นการใช้งานค่อนข้างครบ และโปรแกรมง่ายด้วย CCS


AVR


AVR เป็น Micro Controller รุ่นหลังๆ ที่มีการพัฒนาต่อมาจาก MCS-51  โดยบริษัท ATMEL  อันเนื่องมาจากว่า MCS-51 ยุคหลังๆ นี้ไม่ค่อยมีคนเล่นกันแล้วในการใช้งานจริง คงมีแต่เฉพาะในสถาบันการศึกษา ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องการออกออกแบบวงจรที่ค่อนข้างยุ่งยาก และต้องอาศัยการต่ออุปกรณ์ร่วมเยอะนั้นเองครับ ดังนั้น AVR จึงเข้ามาเป็นพระเอกในการช่วยงานในด้านนี้ โดยคุณสมบัติหลักที่น่าทึ่งก็คือ สามารถ Interface ผ่าน USB ได้โดยตรง ซึ่ง Micro Controller ยุคเก่าๆ ทำได้อย่างเก่งก็ต่อผ่านพอร์ต RS-232 แต่เนื่องด้วยคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ๆ พอร์ต RS-232 มันเริ่มหายากแล้ว ดังนั้น AVR จึงเป็นคำตอบสุดท้าย ดังนั้นการต่อ AVR ใช้งานบนเบอร์ด จะคล้ายๆ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากๆ


Arduino


Arduino เป็น Micro Controller บอร์ดแบบสำเร็จรูป สำหรับยุคนี้ ซึ่งถูกสร้างมาจาก Controller ตระกูล ARM ของ ATMEL ซึ่งข้อดีของ Micro Controller Board รุ่นนี้ก็คือเรื่องของ Opensource ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้ (ความจริงบอร์ดของรุ่นต่างๆ ก็ทำได้เช่นกัน) และความสามารถในการเพิ่ม boot loader เข้าไปที่ตัว ARM จึงทำให้การ upload code เข้าตัวบอร์ดสามารถทำได้ง่ายขึ้น
และยังไม่หมด การพัฒนา software ที่จะใช้ในการควบคุมตัวบอร์ดของ Arduino ก็จะเป็นในลักษณะของ C++ ที่หลายๆคนคุ้นเคยกันดี และตัวบอร์ดยังสามารถนำโมดูลมาต่อเพิ่ม (ซึ่งทาง Ardunio จะเรียกว่าเป็น shield) เพื่อเพิ่มความสามารถต่างๆ ได้ อย่างเช่นต้องการให้ สามารถเชื่อมต่อ wifi ก็ไปหาซื้อ shield ที่เป็น wifi มาต่อเพิ่ม หรือต้องการควบคุมระบบ motor ด้วย ก็เพิ่ม shield ควบคุมมอเตอร์เข้าไปครับ ตัวอย่างตามรูป


หรือถ้าจะสร้างวงจรเพิ่มเติมเองแล้วนำมาประกอบเป็น Shield ให้กับ Arduni ตัวโปรด ก็ยังสามารถทำได้อีกเช่นกัน


Raspberry Pi

เช่นกัน ที่น่าสนใจสำหรับบอร์ด Raspberry Pi ก็คือการจำลองตัวมันเองให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ เครื่องหนึ่ง ที่สามารถรันระบบ Linux ได้ในตัว นั้นก็หมายถึงการดึงระบบต่างๆเพื่อมาใช้งานใน board ย่อมจะสะดวกมากเพราะมี OS Linux ทำงานให้แทนอยู่แล้ว อย่างเช่นการติดต่อกับระบบ Network การติดต่อกับระบบจอภาพ การติดต่อระบบเสียง ตลอดจนการติดต่อกับระบบการเก็บข้อมูลผ่าน SD Card ซึ่งสามารถทำได้ครบเลยครับด้วยระบบปฏิบัติการ Linux ที่รันอยู่บนตัวบอร์ด Raspberry Pi
ตัวอย่างการประยุคใช้ Raspberry Pi เป็น Smart TV

และทั้งหมดนี้ก็คือวิวัฒนาการของระบบ Micro Controller จากอดีต จนถึงปัจจุบัน  จริงๆแล้วยังมีอีกหลายรุ่น แต่เลือกเอาเฉพาะที่นิยมและรู้จักกันเป็นวงกว้างในปัจจุบันมาแนะนำเท่านั้นครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chokelive.com/blog/2013/07/micro-controller-application.html