Friday 31 July 2015

ไมโครคอนโทรลเลอร์ คืออะไร

Micro Controller ถ้าแปลความหมายแบบตรงๆตัว ก็คือระบบคอนโทรลขนาดเล็ก เรียกอีกอย่างหนึ่งคือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่เราสามารถนำเอามันมาประยุคใช้งานได้หลากหลาย โดยผ่านการออกแบบวงจรให้เหมาะกับงานนั้นๆ และยังสามารถโปรแกรมคำสั่งเพื่อควบคุมขา Input / Output เพื่อสั่งงานให้มันไปควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งก็นับว่าเป็นระบบที่สามารถนำมาประยุคใช้งานได้หลากหลายครับ ทั้งทางด้าน Digital และ Analog ยกตัวอย่างเช่น
ระบบสัญญาณตอบรับอัตโนมัต, ระบบบัตรคิว, ระบบตอกบัตรพนักงาน และอื่นๆ ยิ่งระบบ Micro Controller ในยุคปัจจุบันนั้นสามารถทำการเชื่อต่อกับระบบ Network ของคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้อีกด้วย ดังนั้นการสั่งงานจึงไม่ใช่แค่หน้าแผงวงจร แต่อาจจะเป็นการสั่งงานอยู่คนละซีกโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ เห็นมั๊ยละ ว่ามันน่าทึ่งขนาดไหน
บางคนตั้งคำถามต่อว่า อ้าวว มันทำงานเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเราใช้ คอมพิวเตอร์รันงานไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ? คำตอบก็คือ ได้ครับ แต่ลองคิดดู Micro Controller มีขนาดเท่ากล่องเทปคลาสเซ็ท กับ คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าตู้บริจากปัจจัยตามวัด แบบไหนจะสะดวกกว่า นี่ยังไม่นับถึงเรื่องของราคาและค่า maintenance ต่างๆ นาๆ
 ย้อนอดีตนึกถึงเรื่องราวของ Micro Controller ในยุคเก่าๆ
Z-80


 ถ้าจะย้อนไปในอดึต  พวก Micro Controller ที่นิยมใช้กันก็มีอยู่ไม่กี่ตัว เริ่มตั้งแต่ตัวแรกที่เป็นลักษณะของ CPU ไม่ถึงขั้นเรียกว่า Micro Controller ก็คือ ตระกูล Z80  เป็นลักษณะของ CPU เล็กๆ ที่ต้องอาศัย IO ต่างๆ เพิ่มเติมมาก จึงทำให้บอร์ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็จัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ที่ดีของยุคสมัยนั้น โดยชุดคำสั่งที่เป็น op code


MCS-51
หลังจากนั้นก็จะมีตระกูล MCS-51 ซึ่งการเรียนรู้และใช้งานค่อนข้างง่ายกว่า Z-80 ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรมในลักษณะของ Assembly Code แล้วโหลดลงบอร์ดเพื่อใช้งาน ตลอดจนสถาปัตยกรรมในการออกแบบ Micro Controller รุ่นนี้จะช่วยลดอุปกรณ์รอบๆข้างลงไปได้มาก
ตัวอย่างการต่อใช้งาน MCS-51 บนบอร์ดทดลองจริงๆ อุปกรณ์รอบๆข้างจะน้อยกว่า Z-80 มาก ทำให้ออกแบบวงจรได้ง่ายขึ้นมาก


Micro Controller ยุคปัจจุบัน
PIC
PIC เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ยุคหลังๆ ที่ตัดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ต่อพ่วงต่อพ่วงที่มีความซับซ้อนให้เหลือจำนวนน้อยเอามากๆ ประกอบกับมีหน่วยความจำ EEPROM ในตัว จึงทำให้ง่ายต่อการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล และ PORT ต่างๆ ได้มีการ latch ในตัว IC อยู่แล้ว จึงสามารถต่ออกมาใช้งานภายนอกได้เลยโดยตรงโดยมีกระแสและแรงดันที่เพียงพอ และอีกความสามารถหนึ่งที่โดดเด่น คือสามารถโปรแกรมตัว boot loader เข้าไปในตัว Micro Controller  ได้เลย จึงทำให้ง่ายเวลาโหลดโปรแกรมเข้าไป จากคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง Serial port และกดปุ่ม reset เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการเครื่องโปรแกรม IC เพิ่มเติมอย่างที่ต้องมีกับระบบ Micro Controller รุ่นเก่าๆอย่าง MCS 51
ตัวอย่างการต่อใช้งาน PIC กับบอร์ดทดลองจริงๆ ก็ง่าย ฟังก์ชั่นการใช้งานค่อนข้างครบ และโปรแกรมง่ายด้วย CCS


AVR


AVR เป็น Micro Controller รุ่นหลังๆ ที่มีการพัฒนาต่อมาจาก MCS-51  โดยบริษัท ATMEL  อันเนื่องมาจากว่า MCS-51 ยุคหลังๆ นี้ไม่ค่อยมีคนเล่นกันแล้วในการใช้งานจริง คงมีแต่เฉพาะในสถาบันการศึกษา ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องการออกออกแบบวงจรที่ค่อนข้างยุ่งยาก และต้องอาศัยการต่ออุปกรณ์ร่วมเยอะนั้นเองครับ ดังนั้น AVR จึงเข้ามาเป็นพระเอกในการช่วยงานในด้านนี้ โดยคุณสมบัติหลักที่น่าทึ่งก็คือ สามารถ Interface ผ่าน USB ได้โดยตรง ซึ่ง Micro Controller ยุคเก่าๆ ทำได้อย่างเก่งก็ต่อผ่านพอร์ต RS-232 แต่เนื่องด้วยคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ๆ พอร์ต RS-232 มันเริ่มหายากแล้ว ดังนั้น AVR จึงเป็นคำตอบสุดท้าย ดังนั้นการต่อ AVR ใช้งานบนเบอร์ด จะคล้ายๆ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากๆ


Arduino


Arduino เป็น Micro Controller บอร์ดแบบสำเร็จรูป สำหรับยุคนี้ ซึ่งถูกสร้างมาจาก Controller ตระกูล ARM ของ ATMEL ซึ่งข้อดีของ Micro Controller Board รุ่นนี้ก็คือเรื่องของ Opensource ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้ (ความจริงบอร์ดของรุ่นต่างๆ ก็ทำได้เช่นกัน) และความสามารถในการเพิ่ม boot loader เข้าไปที่ตัว ARM จึงทำให้การ upload code เข้าตัวบอร์ดสามารถทำได้ง่ายขึ้น
และยังไม่หมด การพัฒนา software ที่จะใช้ในการควบคุมตัวบอร์ดของ Arduino ก็จะเป็นในลักษณะของ C++ ที่หลายๆคนคุ้นเคยกันดี และตัวบอร์ดยังสามารถนำโมดูลมาต่อเพิ่ม (ซึ่งทาง Ardunio จะเรียกว่าเป็น shield) เพื่อเพิ่มความสามารถต่างๆ ได้ อย่างเช่นต้องการให้ สามารถเชื่อมต่อ wifi ก็ไปหาซื้อ shield ที่เป็น wifi มาต่อเพิ่ม หรือต้องการควบคุมระบบ motor ด้วย ก็เพิ่ม shield ควบคุมมอเตอร์เข้าไปครับ ตัวอย่างตามรูป


หรือถ้าจะสร้างวงจรเพิ่มเติมเองแล้วนำมาประกอบเป็น Shield ให้กับ Arduni ตัวโปรด ก็ยังสามารถทำได้อีกเช่นกัน


Raspberry Pi

เช่นกัน ที่น่าสนใจสำหรับบอร์ด Raspberry Pi ก็คือการจำลองตัวมันเองให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ เครื่องหนึ่ง ที่สามารถรันระบบ Linux ได้ในตัว นั้นก็หมายถึงการดึงระบบต่างๆเพื่อมาใช้งานใน board ย่อมจะสะดวกมากเพราะมี OS Linux ทำงานให้แทนอยู่แล้ว อย่างเช่นการติดต่อกับระบบ Network การติดต่อกับระบบจอภาพ การติดต่อระบบเสียง ตลอดจนการติดต่อกับระบบการเก็บข้อมูลผ่าน SD Card ซึ่งสามารถทำได้ครบเลยครับด้วยระบบปฏิบัติการ Linux ที่รันอยู่บนตัวบอร์ด Raspberry Pi
ตัวอย่างการประยุคใช้ Raspberry Pi เป็น Smart TV

และทั้งหมดนี้ก็คือวิวัฒนาการของระบบ Micro Controller จากอดีต จนถึงปัจจุบัน  จริงๆแล้วยังมีอีกหลายรุ่น แต่เลือกเอาเฉพาะที่นิยมและรู้จักกันเป็นวงกว้างในปัจจุบันมาแนะนำเท่านั้นครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chokelive.com/blog/2013/07/micro-controller-application.html

เทคโนโลยี Internet of Things คืออะไร

สวัสดีครับ
   blog นี้เป็น blog ที่พูดถึงเทคโนโลยี Internet of Things โดยรายละเอียดที่จะพูดถึงก็จะเกี่ยวกับ ความหมาย แนวโน้ม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จาก เทคโนโลยี IoT รวมถึงวิธีการสร้างอุปกรณ์เพื่อ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยี IoT ซึ่งอปกรณ์หลักๆ ก็จะประกอบด้วย microcontroller ,sensor ตัวส่งและรับสัญญาณ Internet ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดในหัวข้อต่อๆไป ส่วนในหัข้อนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า เทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT คืออะไร แนวโน้ม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จาก เทคโนโลยี IoT จะเป็นอย่างไร





  เริ่มต้นจากนี้เลยแล้วกัน
    Internet of Things (IoT) คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และ เครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่างๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในอนาคต ผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขา สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องทำกาแฟ เริ่มต้มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องถูกพัฒนาก่อนที่ IoT จะเป็นความจริงขึ้นมา เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ขณะนี้ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Microsoft และ Cisco ก็หันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้ และในปี 2013 เทคโนโลยี “Internet of Things” จะถูกพูดถึงกันมากขึ้น และจะมีการทำวิจัยและ พัฒนาเพื่อทำให้ สามารถนำมาใช้ได้จริงมากขึ้น (ศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง Internet of Things ได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=sfEbMV295Kk)

  


 ในความจำกัดความของ อินเทลระบุว่า Internet of Things คือ การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้
ในชีวิตประจำวันที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์นั้นมีความสามารถพิเศษที่อัจฉริยะกว่าเดิม ตัวอย่างสินค้าภายใต้แนวคิดนี้ได้แก่ ตู้เย็นออนไลน์ที่เจ้าของเครื่องสามารถตรวจสอบสิ่งของในตู้ขณะอยู่ที่ร้านค้า หรือระบบไฟฟ้าที่ผู้ใช้สามารรถส่งเปิดได้จากนอกบ้าน

 ในขณะที่บริษัทผู้ให้บริการด้านระบบการจัดเก็บข้อมูล อย่าง อีเอ็มซี คอร์เปอเรชั่น ได้จัดทำผลการวิจัย
ภายใต้ EMC Digital Universe ครั้งที่ 7 ให้คำจำกัดความว่า “Internet of Things” ประกอบด้วยอุปกรณ์
ในชีวิตประจำวันหลายพันล้านขึ้นที่มีเครื่องวัดและเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ สร้างรายงานและรับข้อมูล เช่นเซ็นเซอร์ในรองเท้าที่เก็บข้อมูลความเร็วในการวิ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้



   และผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีไร้สาย ผลิตภัณฑ์ที่ชาญฉลาด (Smart Product) และธุรกิจ
Software-define มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มปริมาณข้อมูลให้กับโลกอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ (Internet of Things) ทำให้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ สองปี ระหว่างช่วงปี 2013 ถึง 2014 ปริมาณข้อมูลจะเพิ่มประมาณเป็นสิบเท่า จาก 4.4 ล้านล้านกิกะไบต์เป็น 44 ล้านล้านกิกะไบต์ โดย IDC ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีถึง 2 แสนล้านในปัจจุบันโดยที่ 7% (หรือ 14,000 ล้านชิ้น) มีการเชื่อมต่อและสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านี้นับเป็นจำนวน 2% ของข้อมูลในโลกปัจจุบัน นอกจากนี้ IDC ยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ปริมาณอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านี้จะเพิ่มเป็น 3 หมื่นล้านเครื่อง ซึ่งนับเป็น 10% ของข้อมูลในโลก Internet of Things จะก่อให้เกิดปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เป็นประโยชน์ (และสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดใน Digital Universe ได้) ในปี 2013 มีข้อมูลเพียง 22% เท่านั้นที่นับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แต่มีข้อมูลไม่ถึง 5% ที่มีการนำไปวิเคราะห์ ซึ่งเท่ากับว่ามีข้อมูลจำนวนมากใน Digital Universe ที่ถูกละเลย คาดว่าภายในปี 2020 จำนวนข้อมูลที่เป็นประโยชน์จำมีมากกว่า 35% ทั้งนี้ต้องขอบคุณการเติบโตของInternet of Things แต่อย่างไรก็ดีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นยังขึ้นกับองค์กรธุรกิจ“ปรากฏการณ์ Internet of Things เป็นความท้าทายของธุรกิจในการบริหารจัดการ จัดเก็บ และปกป้องข้อมูลจำนวนมากและหลากหลาย แนวโน้มข้อมูลและ Internet of Things จะขยายไปด้วย และด้วยเซ็นเซอร์เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต”
ดังนั้นข้อมูลที่เกิดขึ้นมาจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในทุกมุมมองของธุรกิจ การเปลี่ยนผ่านจาก
อุตสาหกรรมเดิมไปสู่สิ่งใหม่ อาทิ ดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ และอุปกรณ์จัดเก็บและสำรองข้อมูล การบริการสตอเรจแบบเดิมๆ จะถูกยกระดับให้มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นและรองรับ Digital Universe โดยมี Software-define เป็นตัวควบคุม
 
   

 อีก 5 ปี สิ่งของกว่าแสนล้านชิ้น หรือ เพิ่มขึ้นกว่า 300% จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

     จากการคาดการณ์ในผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม IT ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ณ จากนี้ไป อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันชนิดต่างๆ จะเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบันกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณกว่า แสนล้านชิ้น เนื่องจากอุปกรณ์ Sensor ต่างๆ ที่จะติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งสัญญาณต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะมีราคาลดลงไม่น้อยกว่า 80-90% จากราคาในปัจจุบัน      การเชื่อมต่อโดยมี Sensor ที่เกิดขึ้นจากความทันสมัยซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำลงทุกๆ วันของ เทคโนโลยี Micro Electromechanical Sensors (MEMS) นั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริบทของชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่อาจจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของในอุตสาหกรรมหนึ่งกับสิ่งของในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมกับหน่วยงาน และ อื่นๆ อีกมากมายหลายบริบท